พืชสมุนไพร เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด เราจึงควรหันมาอนุรักษ์ภูมิปัญาที่มีมานาน ไม่ให้หายสาบสูญไปจากความเป็นไทย
วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553
podcast
ผมได้ทำการเปิด สถานนี podcast เมื่อวันที่ 25 ซึ่งช่วงนี้ยังเป็นการทดลองออกอากาศอยู่ เพื่อนๆสามารถเข้าไปรับชมได้ตาม Link ด้านล้างนะครับ เป็นสถานนีเกี่ยวกับการทำอาหาร
วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553
กระดังงาไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cananga odorata Hook.f. & Thomson var. odorata
ชื่อสามัญ : Ylang-ylang Tree
วงศ์ : ANNONACEAE
ชื่ออื่น : กระดังงา, กระดังงาใบใหญ่ , กระดังงาใหญ่, สะบันงา, สะบันงาต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-20 ม. มีรอยแผลใบขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วไป กิ่งตั้งฉากกับลำต้นปลายย้อยลู่ลง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่ยาว ปลายแหลม โคนมนหรือเว้าและเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น ใบอ่อนมีขนทั้ง 2 ด้าน ใบแก่มักมีขนมากตามเส้นแขนงใบและเส้นกลางใบ ช่อดอกสั้น ออกห้อยรวมกันบนกิ่งเหนือรอยแผลใบ ช่อหนึ่งๆ มี 3-6 ดอก ดอกใหญ่ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยม มีขน กลีบดอกเรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ แต่ละกลีบรูปขอบขนานปลายแหลม มีขน ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย กลีบชั้นในแคบกว่าชั้นนอกเล็กน้อย โคนกลีบด้านในสีม่วงอมน้ำตาล ดอกอ่อนกลีบสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เกสรเพศเมียมีหลายอัน อยู่แยกกัน ผลเป็นผลกลุ่ม อยู่บนแกนตุ้มกลม 4-15 ผล แต่ละผลรูปไข่ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเขียวคล้ำจนเกือบดำ มี 2-12 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน รูปไข่แบน
สรรพคุณ :
ดอกแก่จัด - ใช้เป็นยาหอมบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ แก้ลมวิงเวียน ชูกำลังทำให้ชุ่มชื่น ให้น้ำมันหอมระเหย ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง น้ำอบ ทำน้ำหอม ใช้ปรุงยาหอม บำรุงหัวใจ
ใบ, เนื้อไม้ - ต้มรับประทาน เป็นยาขับปัสสาวะพิการ
วิธีใช้ : ใช้ดอกกลั่น ได้น้ำมันหอมระเหย
การแต่งกลิ่นอาหาร ทำได้โดยนำดอกที่แก่จัด ลมควันเทียนหรือเปลวไฟจากเทียนเพื่อให้ต่อมน้ำหอมในกลีบดอกแตก และส่งกลิ่นหอมออกมา แล้วนำไปเสียบไม้ ลอยน้ำในภาชนะปิดสนิท 1 คืน เก็บดอกทิ้งตอนเช้า นำน้ำไปคั้นกะทิ หรือปรุงอาหารอื่นๆ
สารเคมี : ใน ylang -ylang oil มีสารสำคัญคือ linalool , benzyl benzoate p-totyl methylether, methylether, benzyl acetate
ที่มา : http://www.rspg.or.th
มะกอก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spondias cytherea Sonn.
ชื่อสามัญ : Jew's plum, Otatheite appleวงศ์ : Anacardiaceae
ชื่ออื่น : มะกอกฝรั่ง มะกอกหวาน (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 7-12 เมตร เปลือกลำต้นสีเทาหรือน้ำตาลแดง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบยาว ใบย่อยรูปไข่ค่อนข้างเรียวแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย ดอก ออกเป็นช่อแบบเพนิเคิล ตามปลายยอด ดอกย่อยมีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาว ฐานรองดอกมีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพส ผล รูปไข่หรือรูปกระสวย มียางคล้ายไรไข่ปลา ผลอ่อนมีสีเขียวเข้ม ผลแก่มีสีเขียวอมเหลือง สุกมีสีส้ม เมล็ด กลมรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง และมีขนแข็งที่เปลือกหุ้มเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ผล เปลือก ใบ ยาง เมล็ด
สรรพคุณ :
เนื้อผลมะกอก - มีรสเปรี้ยวฝาด หวานชุ่มคอ บำบัดโรคธาตุพิการ โดยน้ำดีไม่ปกติ และมีประโยชน์แก้โรคบิดได้ด้วย
น้ำคั้นใบมะกอก - ใช้หยอดหู แก้ปวดหูดี ผลมะกอกสุก - รสเปรี้ยว อมหวาน รับประทานทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำได้ดี เช่น ผลมะขามป้อม
เปลือก - ฝาด เย็นเปรี้ยว ดับพิษกาฬ แก้ร้อนในอย่างแรง แก้ลงท้องปวดมวน แก้สะอึก
เมล็ดมะกอก - สุมไปให้เป็นถ่าน แช่น้ำ เอาน้ำรับประทานแก้ร้อนใน แก้หอบ แก้สะอึกดีมาก ใช้ผสมยามหานิล
ใบอ่อน - รับประทานเป็นอาหาร
วิธีใช้ : ใช้ผลรับประทานเป็นผลไม้ และปรุงอาหา
ที่มา : http://www.rspg.or.th/
วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553
เสาวรส
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Passiflora laurifolia L.
ชื่อสามัญ : Jamaica honey-suckle, Passion fruit, Yellow granadilla
วงศ์ : Passifloraceae
ชื่ออื่น : สุคนธรส (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้เถา เถามีลักษณะกลม ใบ เป็นใบเดี่ยว ขอบใบหยักลึก ที่ก้านใบมีต่อมใบ ดกหนา เป็นมันสีเขียวแก่ ดอก ออกดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ ห้อยคว่ำคล้ายกับดวงไฟโคม กาบดอกหุ้มสีเขียว กลีบชั้นนอกเป็นรูปกระบอก ปลายแฉกด้านหลังมีสีเขียวแก่ ด้านในมีสีม่วงอ่อนประกอบด้วยจุดแดง ๆ กลีบชั้นในลักษณะคล้ายกับตัวแฉกของกลีบชั้นนอก สีม่วงอ่อนหรือชมพูอ่อนมีประสีแดงแซม กลีบย่อยกลางมีเป็นชั้น ๆ สองชั้นแต่ละกลีบค่อนข้างกลม สีม่วงแก่ พาดด้วยปลายสีขาวสลับแดง มีเกสรอยู่ตรงกลางสีเขียวนวล ดอกมีกลิ่นหอมแรงจัดมาก ผล เป็นรูปไข่หรือไข่ยาว มีหลายพันธุ์ บางพันธุ์ ผิวผลสีม่วง สีเหลือง สีส้มอมน้ำตาล เปลือกผล เรียบ เนื้อรับประทานได้ มีเมล็ดจำนวนมาก อยู่ตรงกลาง
สรรพคุณ : ลดไขมันในเส้นเลือด
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ผลที่แก่จัด ไม่จำกัดจำนวน ล้างสะอาด ผ่าครึ่ง คั้นเอาแต่น้ำ เติมเกลือและน้ำตาลเล็กน้อย ให้รสกลมกล่อมตามชอบ ใช้ดื่มเป็นน้ำผลไม้ ลดไขมันในเส้นเลือด
ที่มา : http://www.rspg.or.th
วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ตะลุมพุก
ชื่อท้องถิ่น ตะลุมพุก มะคังขาว มุยขาว มอกน้ำข้าว มะคัง กระลำพุก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamilnadia uliginosa (Retz.) Tirveng. et Sastre
วงศ์ Rubiaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก สูง 5-10 เมตร ผลัดใบ ตามปลายกิ่งก้าน มีหนามแหลมยาว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ
เปลือกต้นมีสีน้ำตาลเข้ม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม สีเขียวอ่อน รูปไข่กลับ กว้าง 5-10 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร มีหูใบเล็กๆ อยู่ระหว่างก้านใบ ใบบาง ผิวใบเรียบ ดอกเดี่ยว ขนาด 3-5 เซนติเมตร ออกที่ซอกใบ กลีบดอกทรงกลม สีขาว มีกลิ่นหอม ยอดเกสรตัวเมียมีน้ำเมือกค่อนข้างมาก กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ผลสด รูปไข่ กลมรี ยาว 4-6 เซนติเมตร เนื้อแน่น แข็ง เมื่อสุกสีเหลือง เมล็ดรูปทรงกลม จำนวนมาก พบขึ้นตามริมน้ำ ในป่าเบญจพรรณ
ประโยชน์
แก่น สรรพคุณพื้นบ้านอีสาน จะนำมาผสมกับแก่นมะคังแดง ต้มน้ำดื่ม บำรุงกำลัง ผล และราก รสฝาดสุขุม แก้ท้องเสีย
แก้บิดมูกเลือด
ที่มา : ไม้ยาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ระบุพืช บรรยาย และถ่ายภาพ โดย ผศ.ดร.สุดารัตน์ หอมหวล
วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553
พวงชมพูดอกขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Antigonon leptopus Hook & Arn.
ชื่อสามัญ : Chain of love, Confederate Vine, Coral vine
วงศ์ : Polygonaceae
ชื่ออื่น : ชมพูพวง (กรุงเทพฯ) พวงนาค (ภาคกลาง) หงอนนาค (ปัตตานี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เลื้อยพาดพัน ลำต้นเล็ก สีเขียว มีมือสำหรับเกาะยึด ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปหัวใจ กว้าง 3-4 ซม. ยาว 6-8 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเว้ารูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ เห็นเส้นใบชัดเจน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน มีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ดอกสีชมพู ที่พบสีขาวมีบ้าง กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายแหลม ผล เป็นผลแห้ง รูปสามเหลี่ยม
ส่วนที่ใช้ : ราก และเถา
สรรพคุณ : เป็นยากล่อมประสาท ทำให้นอนหลับ
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้เถา 1 กำมือ หรือราก 1/2 กำมือ ต้มกับน้ำ 4 ถ้วยแก้ว ต้มให้เหลือ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 3 ช้อนแกง ก่อนนอน
ที่มา : http://www.rspg.or.th
วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553
คำฝอย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carthamus tinctorius L.
ชื่อสามัญ : Safflower, False Saffron, Saffron Thistle
วงศ์ : Compositae
ชื่ออื่น : คำ คำฝอย ดอกคำ (เหนือ) คำยอง (ลำปาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 40-130 ซม. ลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี รูปใบหอกหรือรูปขอบขนาน กว้าง 1-5 ซม. ยาว 3-12 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ปลายเป็นหนามแหลม ดกช่อ ออกที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก เมื่อบานใหม่ๆ กลีบดอกสีเหลืองแล้วจึงเปลี่ยนเป็นสีแดง ใบประดับแข็งเป็นหนามรองรับช่อดอก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม สีขาว ขนาดเล็ก
สรรพคุณ :
ดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล
- รสหวาน บำรุงโลหิตระดู แก้น้ำเหลืองเสีย แก้แสบร้อนตามผิวหนัง
- บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ขับระดู แก้ดีพิการ
- โรคผิวหนัง ฟอกโลหิต
- ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตัน
เกสร
- บำรุงโลหิต ประจำเดือนของสตรี
เมล็ด
- เป็นยาขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง ทาแก้บวม
- ขับโลหิตประจำเดือน
- ตำพอกหัวเหน่า แก้ปวดมดลูกหลังจากการคลอดบุตร
น้ำมันจากเมล็ด
- ทาแก้อัมพาต และขัดตามข้อต่างๆ
ดอกแก่
- ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ชาดอกคำฝอย ช่วยเสริมสุขภาพ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด โดยใช้ดอกแห้ง 2 หยิบมือ (2.5 กรัม) ชงน้ำร้อนครึ่งแก้ว ดื่มเป็นเครื่องดื่มได้
สารเคมี
ดอก พบ Carthamin, sapogenin, Carthamone, safflomin A, sfflor yellow, safrole yellow
เมล็ด จะมีน้ำมัน ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว
คุณค่าด้านอาหาร
ในเมล็ดคำฝอย มีน้ำมันมาก สารในดอกคำฝอย พบว่าแก้อาการอักเสบ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อบางตัวได้
ในประเทศจีน ดอกคำฝอย เป็นยาเกี่ยวกับสตรี ตำรับยาที่ใช้รักษาสตรีที่ประจำเดือนคั่งค้างไม่เป็นปกติ หรืออาการปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว มักจะใช้ดอกคำฝอยด้วยเสมอ โดยต้มน้ำแช่เหล้า หรือใช้วิธีตำพอก แต่มีข้อควรระวังคือ หญิงมีครรภ์ ห้ามรับประทาน
ใช้ดอกคำฝอยแก่ มาชงน้ำร้อน กรอง จะได้น้ำสีเหลืองส้ม (สาร safflower yellow) ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง
ที่มา : http://www.rspg.or.th
กระเจี๊ยบแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa L.
ชื่อสามัญ : Jamaican Sorel, Roselle
วงศ์ : Malvaceae
ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ย ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้
สรรพคุณ :
กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย
ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด
น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้วย
ใบ แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก
ดอก แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก
ผล ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ
เมล็ด บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด
นอกจากนี้ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน
นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้ว ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไป
สารเคมี
ดอก พบ Protocatechuic acid, hibiscetin, hibicin, organic acid, malvin, gossypetin
คุณค่าด้านอาหาร
น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
น้ำกระเจี๊ยบแดงที่ได้สีแดงเข้ม สาร Anthocyanin นำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ
ที่มา : http://www.rspg.or.th
กาหลง
วงศ์ : Leguminosae - Caesalpinioideae
ชื่ออื่น : กาแจ๊ะกูโด (มลายู-นราธิวาส); กาหลง (ภาคกลาง); โยธิกา (นครศรีธรรมราช); ส้มเสี้ยว (ภาคกลาง); เสี้ยวน้อย (เชียงใหม่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร กิ่งอ่อนมีขนทั่วไป กิ่งแก่ค่อนข้างเกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือเกือบกลม กว้าง 9-13 ซม. ยาว 10-14 ซม. ปลายเว้าลงมาสู่เส้นกลางใบลึกเกือบครึ่งแผ่นใบ ทำให้ปลายแฉกทั้ง 2 ข้างแหลม โคนรูปหัวใจ ขอบเรียบ เส้นใบออกจากโคนใบ 9-10 เส้น ปลายเส้นกลางใบมีติ่งเล็กแหลม แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนเล็กละเอียด ก้านใบยาว 3-4 ซม. มีขนหูใบเรียวแหลม ยาวประมาณ 1 ซม. ร่วงง่าย มีแท่งรยางค์เล็กๆ อยู่ระหว่างหูใบ ช่อดอกแบบช่อกระจะสั้นๆ ออกตรงข้ามกับใบที่อยู่ตอนปลายกิ่ง มี 3-10 ดอก ก้านดอกยาว 0.5-1.5 ซม. โคนก้านดอกมีใบประดับขนาดเล็ก 2-3 ใบ รูปสามเหลี่ยมเรียวแหลม ดอกตูมรูปกระสวย ยาว 2.5-4 ซม. ดอกบาน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-8 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันคล้ายกาบกว้าง 1-1.8 ซม. ยาว 2.5-4 ซม. ปลายเรียวแหลมและแยกเป็นพู่เส้นสั้นๆ 5 เส้น กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว รูปรีหรือรูปไข่กลับ มักมีขนาดไม่เท่ากัน ปลายมน โคนสอบ กว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 4-6 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านชูอับเรณูแต่ละอันยาวไม่เท่ากัน มีตั้งแต่ 1.5-2.5 ซม. อับเรณูสีเหลือง รูปขอบขนาน ยาว 3-5 มม. ก้านชูเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1 ซม. รับไข่รูปขอบขนาน ยาว 6-8 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาว 1-2 ซม. ยอดเกสรเพศเมียเป็นแผ่นกลม ฝักแบน คล้ายรูปขอบขนาน กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 9-15 ซม. ปลายและโคนฝักสอบแหลม ปลายฝักมีติ่งแหลม ยาวประมาณ 8 มม. ขอบฝักเป็นสันหนา มี 5-10 เมล็ด เมล็ดเล็ก คล้ายรูปขอบขนาน
ส่วนที่ใช้ : ดอก
สรรพคุณ :
ดอก
- รับประทาน แก้ปวดศีรษะ
- ลดความดันของโลหิตที่ขึ้นสูง
- แก้เลือดออกตามไรฟัน
- แก้เสมหะพิการ
ที่มา : http://www.rspg.or.th
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)